วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมาธิ การเรียนรู้ และความจำ

โดย...

นางปิยวรรณ        บุญรุ่ง

ครูโรงเรียนวัดอภยาราม


Robert Sylvester นักวิชาการด้านการเรียนรู้ได้ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า อารมณ์ทำให้เกิดความสนใจ และความ
สนใจทำให้เกิดการเรียนรู้ (Emotion drives attention, attention drive learning)” 3-4 ลักษณะ ได้แก่  อะไรที่ใหม่ๆ  อะไรที่มี
การเคลื่อนไหว  อะไรที่มีแสงวูบวาบฉูดฉาด รวมทั้งอะไรที่แรงๆ เช่น กลิ่นแรงๆ เสียงดังๆ เป็นต้น
สิ่งเร้าที่มีคุณสมบัติแบบนี้จะดึงความสนใจของคนได้ดี ดังนั้นเราจะเห็นว่าบรรดาสื่อโฆษณาทั้งหลายพยายามทำให้สื่อดึงความสนใจของคน แต่คุณสมบัติของสิ่งเร้าหรือสื่อแบบนี้ดึงความสนใจของเราได้ชั่วคราว ถ้าหากเนื้อหาหรือเรื่องราวที่อยู่ภายในไม่มีความหมายหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับเราเลย  ฉะนั้นความหมายของสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีต่อตัวเราจึงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสมาธิ การเรียนรู้ และความจำที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลทำให้เกิดการเรียนรู้และสมาธิได้มากที่สุด  ซึ่งนี้เป็นจุดที่จะเปิดไปสู่การเรียนรู้ และการพัฒนาสมาธิ รวมทั้งความจำ
ขั้นต่อไปคือ ทำให้ความสนใจนั้นแรงขึ้น ยาวนานขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติของคนเราให้ทำงานมากขึ้น วิธีการคือ ตั้งคำถาม ท้าทายให้แสวงหาคำตอบ หรือแม้แต่กระตุ้นให้เกิดความสงสัย ยิ่งเป็นคำถามปลายเปิด  คำถามที่เจาะไปได้เรื่อยๆ ไม่มีจุดจบ ยิ่งเป็นเรื่องท้าทาย เราไม่เน้นคุณภาพของคำถามว่าจะมีเหตุผลหรือไม่ เพราะเรากำลังกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
มาถึงขั้นตอนการสรุปความรู้ที่ได้จากการแสวงหา สิ่งที่ต้องทำก็คือให้สรุปสิ่งที่ได้มาด้วยตัวเอง อาจจะใช้การบันทึก การวาดเป็นรูป การทำเป็นเครื่องหมาย หรือแม้แต่การเล่าให้ฟังด้วยคำพูด  จะทำให้จำได้ดีกว่าไม่ต้องกลัวว่าจะเรียนรู้ไปผิดๆ เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น
การสร้างสมาธิและคุณภาพการเรียนรู้และความเข้าใจนั้น ต้องเริ่มจากสิ่งที่สนใจหรือประทับใจ แล้วทำให้เกิดคำถามกับสิ่งนั่น สนับสนุนให้เกิดการหาคำตอบอย่างไม่สิ้นสุดแล้วให้สรุปผลที่ได้ด้วยตัวเอง หากคำตอบหรือความรู้ที่ได้มายังไม่ถูกต้อง ก็สร้างวิธีการสอบทานคำตอบนั่น ด้วยการสร้างคำถามต่อคำตอบ  ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับนำมาบูรณาการการเรียนการสอนให้กับเด็กมากเพราะเป็นการเรียนรู้ได้จากความอยากรู้ของตัวเด็กจริงๆ

แหล่งที่มา  http://www.karn.tv/ห้องสมุด/บทความวิชาการ/209


4 ความคิดเห็น:

ข่าวการศึกษา