วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทำไมต้อง BBL แล้ว BBL คืออะไร

โดย.... นางวรรณี  เพ็งประไพ
ครูโรงเรียนวัดอภยาราม

            ผู้ปกครอง  หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษาอาจจะยังไม่เข้าใจ BBL
เป็นอย่างไร  เมื่อก้าวเข้ามาสู่รั้วของโรงเรียนก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  เช่น ถนนในโรงเรียน   สนามเด็กเล่น  อาคารเรียน  อาคารประกอบต่าง ๆ  มีสีสันที่สดใสแปลกตา  มีห้องเรียนโต๊ะ  เก้าอี้ที่หลากสี   ซึ่งแต่ละสีมีความหมาย  และมีผลต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนโดยตรง  นี่แหละคือส่วนหนึ่งของ   BBL  และเมื่อท่านได้อ่านบทความนี้  อาจทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นบ้าง
            BBL  :  Brain  based  Learning  เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาการสมองของมนุษย์  โดยนำความรู้ใหม่ ๆ  ด้านประสาทวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน  โดยใช้กุญแจ  5  ดอก   คือ

1.                   การปรับเปลี่ยนสนามเด็กเล่น     เพื่อพัฒนาสมองน้อย  และไขสันหลังให้แข็งแกร่ง  เมื่อเด็กได้ออกกำลังกาย  ร่างกายจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

           2.                   ปรับเปลี่ยนห้องเรียน    เพื่อเปลี่ยนสมองของเด็ก  สิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่  มีความเข้มข้นมีสีสัน  จะช่วยกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้  และจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น


      3.                   การจัดกระบวนการเรียนรู้  เป็นการกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก  โดยใช้กิจกรรมต่าง ๆในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สมองเด็กตื่นตัว  สนใจ  ท้าทายการคิด  ค้นหา  ลองผิด  ลองถูก  เรียนรู้  และจดจำกิจกรรมที่กระตุ้นสมองเด็ก เช่น  กิจกรรมขยับกาย  ขยายสอง  ทุกๆ ต้นชั่วโมง  การใช้บทเพลง  และบทกลอน  กิจกรรมที่นักเรียนได้เห็นภาพ  ได้รับรู้ผ่านการได้ยินเสียง  ได้เคลื่อนไหว  และได้ใช้ประสาทสัมผัส



            4.                   หนังสือเรียน  และใบงาน  ใช้หนังสือเรียนและใบงานที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง  เพื่อช่วยกระตุ้นสมองของนักเรียน  ฝึกให้เด็กคิดทีละขั้นตอน และนำทักษะความรู้ในแต่ละขั้นมาประกอบกันเป็นความเข้าใจในที่สุด



5.                   สื่อและนวัตกรรม ใช้สื่อและนวัตกรรมที่แปลกใหม่   น่าตื่นเต้น  และมีสีสัน  และมีจำนวนเพียงพอกับนักเรียนทุกคน  เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการเรียนรู้  และกระตุ้นให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน  พึงพอใจ  เกิดความตั้งใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาที่ซับซ้อน



                                                     
 ที่มา  คู่มือพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิด       BBL   โดย  อ.พรพิไล  เลิศวิชา

2 ความคิดเห็น:

ข่าวการศึกษา