วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมาธิ การเรียนรู้ และความจำ

โดย...

นางปิยวรรณ        บุญรุ่ง

ครูโรงเรียนวัดอภยาราม


Robert Sylvester นักวิชาการด้านการเรียนรู้ได้ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า อารมณ์ทำให้เกิดความสนใจ และความ
สนใจทำให้เกิดการเรียนรู้ (Emotion drives attention, attention drive learning)” 3-4 ลักษณะ ได้แก่  อะไรที่ใหม่ๆ  อะไรที่มี
การเคลื่อนไหว  อะไรที่มีแสงวูบวาบฉูดฉาด รวมทั้งอะไรที่แรงๆ เช่น กลิ่นแรงๆ เสียงดังๆ เป็นต้น
สิ่งเร้าที่มีคุณสมบัติแบบนี้จะดึงความสนใจของคนได้ดี ดังนั้นเราจะเห็นว่าบรรดาสื่อโฆษณาทั้งหลายพยายามทำให้สื่อดึงความสนใจของคน แต่คุณสมบัติของสิ่งเร้าหรือสื่อแบบนี้ดึงความสนใจของเราได้ชั่วคราว ถ้าหากเนื้อหาหรือเรื่องราวที่อยู่ภายในไม่มีความหมายหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับเราเลย  ฉะนั้นความหมายของสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีต่อตัวเราจึงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสมาธิ การเรียนรู้ และความจำที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลทำให้เกิดการเรียนรู้และสมาธิได้มากที่สุด  ซึ่งนี้เป็นจุดที่จะเปิดไปสู่การเรียนรู้ และการพัฒนาสมาธิ รวมทั้งความจำ
ขั้นต่อไปคือ ทำให้ความสนใจนั้นแรงขึ้น ยาวนานขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติของคนเราให้ทำงานมากขึ้น วิธีการคือ ตั้งคำถาม ท้าทายให้แสวงหาคำตอบ หรือแม้แต่กระตุ้นให้เกิดความสงสัย ยิ่งเป็นคำถามปลายเปิด  คำถามที่เจาะไปได้เรื่อยๆ ไม่มีจุดจบ ยิ่งเป็นเรื่องท้าทาย เราไม่เน้นคุณภาพของคำถามว่าจะมีเหตุผลหรือไม่ เพราะเรากำลังกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
มาถึงขั้นตอนการสรุปความรู้ที่ได้จากการแสวงหา สิ่งที่ต้องทำก็คือให้สรุปสิ่งที่ได้มาด้วยตัวเอง อาจจะใช้การบันทึก การวาดเป็นรูป การทำเป็นเครื่องหมาย หรือแม้แต่การเล่าให้ฟังด้วยคำพูด  จะทำให้จำได้ดีกว่าไม่ต้องกลัวว่าจะเรียนรู้ไปผิดๆ เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น
การสร้างสมาธิและคุณภาพการเรียนรู้และความเข้าใจนั้น ต้องเริ่มจากสิ่งที่สนใจหรือประทับใจ แล้วทำให้เกิดคำถามกับสิ่งนั่น สนับสนุนให้เกิดการหาคำตอบอย่างไม่สิ้นสุดแล้วให้สรุปผลที่ได้ด้วยตัวเอง หากคำตอบหรือความรู้ที่ได้มายังไม่ถูกต้อง ก็สร้างวิธีการสอบทานคำตอบนั่น ด้วยการสร้างคำถามต่อคำตอบ  ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับนำมาบูรณาการการเรียนการสอนให้กับเด็กมากเพราะเป็นการเรียนรู้ได้จากความอยากรู้ของตัวเด็กจริงๆ

แหล่งที่มา  http://www.karn.tv/ห้องสมุด/บทความวิชาการ/209


ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน

นิทานช่วยพัฒนาภาษา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม สานสายใยครอบครัว ปลูกฝังให้รักการอ่าน สนุกสนาน เพลิดเพลินและมีสมาธิ สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมะสมในแต่ละช่วงวัยและจากสิ่งที่ได้อ่านได้ฟังยังใช้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจและมีความสุข
ขณะตั้งครรภ์ ควรเลือกหนังสือที่สนุกสนานโดยแม่ตั้งใจเล่านิทานให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง
วัยแรกเกิด - 1 ปี วัยนี้จะสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชอบมองของที่มีสีสวยงาม รู้สึกสนุกกับการค้นหา หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพเดี่ยวเหมือนจริง เช่น รูปสัตว์ ผลไม้ ฯลฯ ฉากหลังของภาพไม่รกรุงรัง
วัย 2-3 ปี เป็นวัยอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ สนใจค้นหาชอบสำรวจสิ่งต่างๆ มีการพัฒนาทางภาษารวดเร็ว ชอบฟังบทกลอนสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของใช้ภาษาง่ายๆอาจเป็น บทกลอนหรือคำคล้องจอง
วัย 4-5 ปี เด็กวัยนี้พูดเป็นประโยคยาวๆได้ ชอบตั้งคำถามทำไม อย่างไร ช่างสังเกต ช่างฝัน เริ่มมีจินตนาการ เล่นเป็นกลุ่มด้วยบทสมมติเป็น หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องที่ประสานกลมกลืน เนื้อเรื่องสนุก ใช้ภาษาแปลกๆ รูปภาพน้อยลงแต่รายละเอียดของภาพมากขึ้น
วัย 6-7 ปี เด็กวัยนี้พูดได้ชัดเจน เล่าเรื่องต่างๆได้ยาว ชอบแสดงท่าทางประกอบหรือเลียนแบบ หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ เนื้อเรื่องตลกขบขัน มีการสอดแทรกจริยธรรม
วัย 8-11 ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล ชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ มีสมาธิดีขึ้น หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่เขียนจากเรื่องจริง เช่น ประวัติบุคคลสำคัญ ความรู้รอบตัว ฯลฯ มีการสอดแทรกจริยธรรมในเนื้อเรื่อง
วัย 12-15 ปี เด็กวัยนี้มีความคิดเป็นของตัวเอง เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม บางครั้งสับสนกับบทบาทของตนเองชอบเลียนแบบสื่อที่ชอบ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องที่ มีความหลากหลาย ซับซ้อน ที่สามารถคิดคาดเดาและท้าทายให้อยากรู้ต่อไป มีการสอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรม
ดังนั้นเราควรส่งเสริมให้เด็กๆได้ฟังหรืออ่านนิทานจากหนังสือที่เหมาะสมกับวัยเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีมีความฉลาดทางอารมณ์ และมีความสุข

แหล่งที่มา: นิตยสาร ''แม่และเด็ก''
                   http://women.sanook.com/2521/
                   http://www.prthai.com/articledetail.asp?kid=10460

โดย...
นางปิยวรรณ  บุญรุ่ง
ครูโรงเรียนวัดอภยาราม

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากห้องเรียนสู่ชีวิตจริง (ระดับประถมศึกษา)

นางสุพรรษา  ย้อยรักษ์
                                                                             บุคลกรวิทยาศาสตร์โรงเรียนวัดอภยาราม
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุที่วิทยาศาสตร์มีความสำคัญ เราจึงต้องเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็กเพื่อให้พร้อมที่จะนำวิทยาศาสตร์ไป แก้ปัญหาที่เราต้องพบต่อไปในอนาคต  ดังนั้นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้สอนวิทยาศาสตร์ที่จะต้องดำเนินการ คือครูจะต้องพัฒนานักเรียนให้มีความใฝ่รู้ มีเหตุผล ร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล
           การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพราะการดำเนินชีวิตของเด็กๆ เป็นวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว   เด็กในวัยประถมศึกษา เป็นวัยอยากรู้อยากเห็นเรื่องรอบตัว การสอนวิทยาศาสตร์ควรส่งเสริมให้เด็กๆได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมงานกับเพื่อน ใช้พลังความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ฝึกทักษะการสังเกต ทำงานเป็นขั้นตอน ได้ค้นพบความรู้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดมีความภาคภูมิใจ             
          การเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากห้องเรียนสู่ชีวิตจริงในการเรียนรู้ เช่น การให้นักเรียนเลี้ยงหนอนจนเป็นผีเสื้อ เลี้ยงลูกอ๊อด จนเห็นการพัฒนาของสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกเป็นลูกกบ  นอกจากนักเรียนจะได้ฝึกสังเกต ฝึกบันทึกรายงานแล้ว  นักเรียนยังเรียนรู้ที่จะให้อาหาร เฝ้าดูพัฒนาการของชีวิตที่เกิดมาด้วยความใส่ใจ เรียนรู้ที่จะรักษาชีวิตอื่นมากกว่าทำลาย เห็นคุณค่าสิ่งมีชีวิต  ซึ่งจะสร้างความอ่อนโยนในจิตใจได้อีกทางหนึ่งด้วย
             ดังนั้นข้าพเจ้ามองว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากมากกว่าความรู้ คือ กระบวนการในการเรียนรู้   ครูจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้นักเรียนของเรามีทักษะการใช้ชีวิต มีความสมบูรณ์ทั้งความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหาในชีวิตต่อไปค่ะ    

http://i416.photobucket.com/albums/pp247/khate-khate1/Day%20aa/ty109.gif 


                       
                       


ข่าวการศึกษา