วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รู้จักคิด


  "  รู้จักการคิด  "

 

โดย   กรุณา   หมวดมณี

ช่อแก้ว  วงษ็ตั้นหิ้น

             

  กระบวนการ  ความคิด  พิสิษฐ์นัก            ใครรู้จัก  นำมาใช้  ให้ถูกต้อง
โยนิโส  มนสิการ  หมั่นตรองตรึก              ย่อมเรืองรอง  ด้วยปัญญา  เป็นอาจิณ

(สุนทรภู่)
            การคิดเป็นการแสดงออกของความเจริญของมนุษย์ เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตทำให้เกิดวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นเนื่องจากมนุษย์รู้จักคิด และนำสิ่งที่คิดมาใช้ในการประดิษฐ์ดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ก้าวหน้า ทำให้โลกเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังคำกล่าวที่ว่า  เมื่อใดเราเปลี่ยนความคิดได้  เมื่อนั้นเราก็เปลี่ยนวิถีชีวิตได้
            พระพุทธเจ้าผู้เป็น ยอดครู  (บรมครู)  ทรงสอนวิธีคิดไว้หลายวิธี  เพื่อให้เหมาะแก่อุปนิสัย  และภูมิหลังของแต่ละบุคคล  ในพระไตรปิฎก  กล่าวไว้  10  วิธีคิดด้วยกัน  คือ
            1.  คิดสืบสาวเหตุปัจจัย   ในทีนี้ท่านพูดสองคำควบกันคือ  เหตุ  กับ  ปัจจัย   เหตุ  หมายถึงเหตุใหญ่  เหตุสำคัญ  ปัจจัยหมายถึง  เงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ท่านสอนให้


การศึกษาระดับปฐมวัยสำคัญอย่างไร

การศึกษาระดับปฐมวัยสำคัญอย่างไร
 
 
โดย  กาญจนา  เกื้อเส้ง
สุนันทา  ดำแก้ว
                           “เด็กปฐมวัยทำไมต้องจัดการศึกษาให้ จำเป็นแค่ไหน นี่คือคำถามที่ผู้ใหญ่ นักวิชาการ ผู้บริหาร หรือผู้ปกครอง หลายท่านตั้งคำถาม หลายคนคิดว่า เด็กอายุแค่  3 5  ขวบ  จะเรียนรู้ จะคิดอะไรได้มากแค่ไหน แค่เลี้ยงให้เติบโตอย่างสมบูรณ์ก่อนก็น่าจะพอ 




            นั่นคือความคิดของผู้ใหญ่บางคน แต่หารู้ไม่ว่าเด็กปฐมวัยเป็นวันแห่งการเรียนรู้ เป็นวัยแห่งความคิดสร้างสรรค์ ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน  ออสเตรเลีย หรืออีกหลายๆ ประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาระดับปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะเขาเชื่อว่า เด็ก คือ รากฐานของมนุษย์ อยากให้ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคม มีคุณลักษณะหรือมีความสามารถอย่างไร ต้องปลูกฝังตั้งแต่เล็กๆ เหมือนที่เขาว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ซึ่งปัจจุบันเราชอบบ่นกันว่า ทำไหมเด็กสมัยนี้(เด็กระดับประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา)  ไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักพูด ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ทำอะไรไม่เป็น ซึ่งเราลืมมองย้อนกลับไปว่าตอนเด็กเล็กๆ เราปลูกฝังเขา หรือเราฝึกฝนเขาอย่างไร  ซึ่งจริงๆ แล้วเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมและปัจจัยอีกมากมาย พัฒนาการ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตอนโตสืบเนื่องมาจาก การเลี้ยงดู การปลูกฝัง การอบรมสั่งสอน หรือการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จังหวัดพัทลุง



จังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง
ตราประจำจังหวัดพัทลุง
จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิปดาเหนือถึง 7 องศา 53 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 9 องศา 44 ลิปดาตะวันออก  ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) เป็นระยะทางประมาณ 858 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟระยะทางประมาณ 846 กิโลเมตร  ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 78 กิโลเมตรและความกว้างจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ (พื้นดิน 1,919,446 ไร่ พื้นน้ำ 220,850 ไร่)

ข่าวการศึกษา