วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมกวนข้าวยาคู



กิจกรรม...กวนข้าวยาคู....
...ชมขวัญ  ขุนวิเศษ
...พิพัฒน์  ทองต้ง...
    ประวัติความเป็นมา
                   ข้าวยาคูหรือข้าวยาโค เป็นชื่อที่คนภาคใต้เรียกกันทั่วไป ในพุทธประวัติเรียกว่า ข้าวมธุปายาสยาคู”  ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า
                 พุทธศาสนิกชน มีความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสยาคู มีใจความสรุปได้ดังนี้
                “ในตอนเช้าหนึ่ง นางสุชาดาบุตรีกระฎุมพี นายใหญ่แห่งบ้านเสนานิคม ณ ตำบลอุรุเวลา ปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา จึงหุงข้าวมธุปายาสยาคู คือข้าวสุกหุงด้วยน้ำนมโคล้วน เสร็จแล้วจัดลงในถาดทองคำนำไปที่ต้นโพธิ์ ในตอนเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๖ ปีระกาเห็นมหาบุรุษประทับนั่งอยู่ สำคัญว่าเป็นเทวดาจึงน้อมนำข้าวมธุปายาสยาคูเข้าไปถวาย ในเวลานั้นบาตรของพระองค์อันตรธานหายไปพระองค์จึงทรงรับข้าวมธุปายาสยาคู ด้วยพระหัตถ์แล้วทอดพระเนตรแลดูนาง นางทราบพระอาการจึงทูลถวายทั้งถาดแล้วกลับไป มหาบุรุษทรงถือถาดข้าวมธุปายาสยาคูเสด็จไปสู่ท่าน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชรา เมื่อสรงน้ำแล้วจึงได้เสวยข้าวมธุปายาสยาคู ซึ่งปั้นเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน ทรงเสวยจนหมด แล้วทรงอธิฐานลอยถาดเสี่ยงบารมี   หลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสยาคู ของนางสุชาดาแล้วก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในคืนนั้นเอง   
                   ในพระธรรมบทมีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวถึงการหุงน้ำนมข้าวถวายพระพุทธเจ้า ความว่า มีกระฎุมพี ผู้พี่ชื่อมหากาลร่วมกันปลูกข้าวสาลีในที่นาแปลงเดียวกัน ปีหนึ่งขณะเมื่อข้าวสาลีออกรวงเนื้อในพอเป็นน้ำนม จุลกาลเก็บเอามากินดูรู้สึกหวานอร่อย เกิดความคิดจะเก็บข้าวนั้นไปถวายพระภิกษุ แต่มหากาลไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีใครเคยทำกันมาก่อน เลยแบ่งนาข้าวสาลีให้ไปส่วนหนึ่ง จุลกาลให้ชาวบ้านช่วยกันเก็บเมล็ดข้าวสาลีที่ตั้งท้องเป็นน้ำนมในส่วนของตนไปตำ แล้วต้มด้วยน้ำนมสด เนย น้ำผึ้ง น้ำตาล แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าและสาวก โดยอธิษฐานว่าขอให้ผลทานนี้บันดาลให้บรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวง ต่อมาเกิดเหตุอัศจรรย์ต้านข้าวสาลีที่เก็บเอาไปแล้วกลับออกรวงงามสมบูรณ์ขึ้นมาอีก  ทำให้จุลกาลเกิดปิติ ได้เก็บเมล็ดข้าวสาลีที่ตั้งท้องไปทำบุญในวาระต่อมาอีกรวม ๙ ครั้ง
                   ด้วยอานิสงส์ จุลกาลจึงถือกำเนิดเป็นพราหมณ์อัญญาโกณฑัญญะ  เมื่อได้ฟังธรรมจักกัปปวัตนสูตร พระปฐมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดดวงตาเห็นธรรมทันที ได้อุปสมบทเป็นเอหิภิกขุอุป-สัมปทาเป็นอรหันตสาวกองค์แรก
                  เดือนสามเป็นระยะเวลากำหนดกวนข้าวยาคู  เพราะข้าวในนากำลังออกรวง เมล็ดข้าวยังไม่แก่กำลังเป็นน้ำนมข้าวสำหรับนำมากวนข้าวยาคู ชาวบ้านจึงนิยมกวนข้าวยาคูในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน๓ โดยใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวยาคู เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมของประชาชน  ทั้งนี้  พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ให้สมองดีเกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาว และเป็นโอสถขนานเอก ขจัดโรคร้ายทุกชนิด และบันดาลความสำเร็จในการประกอบอาชีพเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริโภคด้วย      
               ดังนั้น โรงเรียนวัดอภยาราม  ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของประเพณีที่มีความสัมพันธ์กับสังคมเกษตรกรรม คือให้ความสำคัญต่อข้าวหรือน้ำนมข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของชาวไทยดังกล่าว  จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ในงานมหกรรมกวนข้าวยาคูประจำปี  2556  ณ เทศบาลตำบลท่าแค เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา  มีความรักความสามัคคีในหมู่ญาติและมิตรสหาย เพราะต้องร่วมแรงร่วมใจในการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องปรุงซึ่งการกวนต้องใช้ทั้งเวลาและผู้คน   มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันโดยแบ่งปันข้าวยาคู แม้ไม่ได้มาร่วมกวนข้าวยาคู ก็จะได้รับข้าวยาคูเป็นของฝากให้ได้รับประทานทั่วถึงกันทุกคน   อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์และปฏิบัติตามประเพณีที่ดีงาม  เป็นการถ่ายทอดประเพณีให้แก่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการกวนข้าวยาคู เพื่อสืบทอดประเพณีให้คงอยู่ตลอดไป

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

คุณเป็นครูคณิตศาสตร์ที่ไร้อารมณ์ขัน...หรือไม่

คุณเป็นครูคณิตศาสตร์ที่ไร้อารมณ์ขันหรือไม่?

......ช่อแก้ว  วงษ์ตั้นหิ้น  ครูโรงเรียนวัดอภยาราม

                      ภาพของครูคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่มักถูกมองว่าเคร่งเครียด เอาจริงเอาจัง น่ากลัว ดุ ผู้เขียนเคยสำรวจความต้องการครูคณิตศาสตร์ของเด็กประถมศึกษาระดับ ป. 3 และ ป.6 พบว่านักเรียนร้อยละ 80 % ต้องการครูคณิตศาสตร์ที่สอนเข้าใจง่ายและสอนสนุกการสำรวจเด็กเก่งที่สอบชิงทุนคณิตศาสตร์โอลิมปิกจาก 73 จังหวัดและสำรวจเด็กเก่งที่สอบแข่งขันของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระราชนูปถัมภ์พบว่า 75 % ชอบครูคณิตสาสตร์ที่สอนสนุกและจากการสำรวจของดุสิตโพลเกี่ยวกับครูในดวงใจศิษย์ปี2543 พบว่าเด็กชอบครูที่สอนสนุกเป็นอันดับ3 จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร

การเลือกและการตัดสินใจ

                                                                                        โดย... อารมณ์      วรานุศิษฏ์
                                                                                                  หทัยชนก  ขวัญขำ 
                                                                                                  วรรณี        เพ็งประไพ 
                  เส้นทางเดินของมนุษย์ของชีวิตมีความแตกต่างกัน     บางคนเกิดมาท่ามกลางความทุกข์ยาก  เส้นทางชีวิตแต่ละตอนมีแต่อุปสรรค  ขวากหนาม มิให้ประสบผลสำเร็จถึงจุดหมาย    บางคน                     มีชวิตที่สุขสบาย  ทุกย่างก้าวของชีวิตมีแต่ความสว่าง  ราบรื่น   ทางเดินเต็มไปด้วยความงดงาม  ปราศจากปัญหาและอุปสรรค    แต่อย่างไรก็ตามทุกชีวิตก็ต้องมีการสะดุดบ้าง

ข่าวการศึกษา