วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทำไมต้อง BBL แล้ว BBL คืออะไร

โดย.... นางวรรณี  เพ็งประไพ
ครูโรงเรียนวัดอภยาราม

            ผู้ปกครอง  หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษาอาจจะยังไม่เข้าใจ BBL
เป็นอย่างไร  เมื่อก้าวเข้ามาสู่รั้วของโรงเรียนก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  เช่น ถนนในโรงเรียน   สนามเด็กเล่น  อาคารเรียน  อาคารประกอบต่าง ๆ  มีสีสันที่สดใสแปลกตา  มีห้องเรียนโต๊ะ  เก้าอี้ที่หลากสี   ซึ่งแต่ละสีมีความหมาย  และมีผลต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนโดยตรง  นี่แหละคือส่วนหนึ่งของ   BBL  และเมื่อท่านได้อ่านบทความนี้  อาจทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นบ้าง
            BBL  :  Brain  based  Learning  เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาการสมองของมนุษย์  โดยนำความรู้ใหม่ ๆ  ด้านประสาทวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน  โดยใช้กุญแจ  5  ดอก   คือ

1.                   การปรับเปลี่ยนสนามเด็กเล่น     เพื่อพัฒนาสมองน้อย  และไขสันหลังให้แข็งแกร่ง  เมื่อเด็กได้ออกกำลังกาย  ร่างกายจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

           2.                   ปรับเปลี่ยนห้องเรียน    เพื่อเปลี่ยนสมองของเด็ก  สิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่  มีความเข้มข้นมีสีสัน  จะช่วยกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้  และจดจำเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น


      3.                   การจัดกระบวนการเรียนรู้  เป็นการกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก  โดยใช้กิจกรรมต่าง ๆในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สมองเด็กตื่นตัว  สนใจ  ท้าทายการคิด  ค้นหา  ลองผิด  ลองถูก  เรียนรู้  และจดจำกิจกรรมที่กระตุ้นสมองเด็ก เช่น  กิจกรรมขยับกาย  ขยายสอง  ทุกๆ ต้นชั่วโมง  การใช้บทเพลง  และบทกลอน  กิจกรรมที่นักเรียนได้เห็นภาพ  ได้รับรู้ผ่านการได้ยินเสียง  ได้เคลื่อนไหว  และได้ใช้ประสาทสัมผัส



            4.                   หนังสือเรียน  และใบงาน  ใช้หนังสือเรียนและใบงานที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง  เพื่อช่วยกระตุ้นสมองของนักเรียน  ฝึกให้เด็กคิดทีละขั้นตอน และนำทักษะความรู้ในแต่ละขั้นมาประกอบกันเป็นความเข้าใจในที่สุด



5.                   สื่อและนวัตกรรม ใช้สื่อและนวัตกรรมที่แปลกใหม่   น่าตื่นเต้น  และมีสีสัน  และมีจำนวนเพียงพอกับนักเรียนทุกคน  เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยในการเรียนรู้  และกระตุ้นให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน  พึงพอใจ  เกิดความตั้งใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาที่ซับซ้อน



                                                     
 ที่มา  คู่มือพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิด       BBL   โดย  อ.พรพิไล  เลิศวิชา

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ข้อห้ามที่ควรรู้ของประเทศในกลุ่มอาเซียน


โดย.........นายพิพัฒน์  ทองต้ง 

ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนวัดอภยาราม    

อ้างอิงจาก teen.mthai.com และข้อมูลประกอบจาก thai-aec


           
ปัจจุบันนี้หากเราไม่รู้จัก AEC หรืออาเซียนไม่ได้แล้ว เพราะไม่อย่างนั้นเราก็คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง  ยิ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาด้วยแล้วต้องรู้เรื่อง  เพราะว่าครูอาจารย์ท่านก็เอาไปใช้เป็นข้อสอบ  โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษาหรือวิชาอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน  ดังนั้นจะมาบอกว่าไม่ต้องรู้ไม่ได้

            ดังนั้นคุณต้องรู้จักอาเซียนในแง่มุมต่างๆ ให้ครบถ้วนทั้งเรื่องทั่วๆ ไปที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน และรวมถึงเรื่องข้อห้ามบางประการของประเทศในอาเซียนที่น่ารู้แต่ยังไม่คอยมีใครนำเสนอมากนัก  ดังนี้

1. ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)


1. ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์

2. การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ

3. การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน

4. จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น

5. สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง

6. วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด

7. จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม


 2. ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

1. ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง

2. ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย

3. สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ


 3. ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)

1. ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ

2. นิยมใช้มือกินข้าว

3. ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน

4. ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก

5. การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต

6. บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ

7. มอเตอร์ไซค์รับจ้างต้องมีมิเตอร์

8. งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้


4. ประเทศลาว (Laos)

1. ลาวขับรถทางขวา

2. ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น

3. เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว

4. ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน

5. อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน

6. เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม


 5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

1. ให้ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ

2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม


6. ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)

1. ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย

2. เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า

3. ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์

4. ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ

5. ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน

6. ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก


 7. ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

1. เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย

2. ใช้ปากชี้ของ

3. กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย

4. ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส


 8. ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

1. การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

2. การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต

3. ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย

4. ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ


 9. ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

1. เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ

2. คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต

3. ตีกลองแทนออดเข้าเรียน

4. ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย

5. คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง

6. ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต

7. ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว


 10. ประเทศไทย (Thailand)

1. ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า

2. ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี

3. สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ

4. ทักทายกันด้วยการไหว้

5. ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร

6. ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม

7. การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

ข่าวการศึกษา