วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน


                                                              โดย  นางวรรณี  เพ็งประไพ
                                                                                                       ครูโรงเรียนวัดอภยาราม


การจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือครู  โดยเน้นให้ครูเริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนัก  ความรู้  ความเข้าใจ  และเจตคติที่ดี  พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอาเซียนที่จะต้องเผชิญในอนาคต

แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน  มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

ขั้นที่  1  วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาเซียน  โดยเฉพาะกลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรมจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอาเซียนโดยตรงโดยจัดทำเป็นตาราง  มาตรฐาน  ตัวชี้วัด  สาระการเรียนรู้  สาระที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน
ขั้นที่  2  จัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการประชาคมอาเซียน  โดยทำตารางระบุชื่อหน่วย  มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  สาระสำคัญ  เวลา  และน้ำหนักคะแนน
ขั้นที่  3  จัดทำแผนผังความคิดหน่วยการเรียนรู้ 
      ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  บูรณาการกับสาระการเรียนรู้   และตัวชี้วัด  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ร่วมกัน  ซึ่งการวางแผนการจัดกิจกรรมนี้  จะกำหนดหัวข้อเรื่องไว้ตรงกลาง  แยกเป็นหน่วยย่อย  เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของการจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ขั้นที่  4  ออกแบบการจัดการเรียนรู้  แบบย้อนกลับ  (Backword  Design)  โดยทำตาราง  4  ช่อง 
-                   ช่องแรกเป็นเป้าหมาย  ได้แก่  การกำหนดสาระสำคัญ  จากมาตรฐาน/ตัวชี้วัด 
-                   ช่องที่  2  การวัดและประเมินผล  กำหนดชิ้นงาน/ภาระงานของผู้เรียน   ตามสาระสำคัญ 
-                   ช่องที่  3  กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
-                   ช่องที่  4  คำถามสำคัญ  เป็นคำถามท้าทายจากการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้
การจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนสามารถจัดทำได้หลากหลายรูปแบบตามความพร้อมของสถานศึกษา  ดังนี้
1.  จัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา   ศาสนาและวัฒนธรรมในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาเซียนโดยตรง
2.  การจัดการเรียนรู้บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  เป็นแกน
3.  การจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม  โดยกำหนดผลการเรียนรู้  แล้วนำมาเขียนคำอธิบายรายวิชา  และนำไปจัดทำหน่วยการเรียนรู้แล้วเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
4.  การจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน  เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้  ความชำนาญ  และประสบการณ์ของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอาเซียน  เช่น  กิจกรรมชุมนุม  ชมรมอาเซียน  ลูกเสือ- ยุวกาชาดอาเซียน  เป็นต้น
5.  การจัดกิจกรรมเสริม  เพื่อเสริมความรู้  ความเข้าใจ  ความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องอาเซียน  เช่น
 จัดงานสัปดาห์อาเซียน  กิจกรรมภาษาอาเซียนน่ารู้   เป็นต้น


                ที่มา  คู่มือประกอบการอบรมพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชัฏสงขลา

1 ความคิดเห็น:

ข่าวการศึกษา