โดย...นางชมขวัญ ขุนวิเศษ
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอภยาราม
ชื่อผลงาน การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้
SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
๑. แนวคิด/ความเป็นมาของ Best Practice
พระราชบัญญัติศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ ( ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ.๒๕๕๓
ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ในหมวด ๔
โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้และคุณธรรม
เป็นผู้มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้
มีทักษะในการแสวงหา
ความรู้ที่เพียงพอต่อการพัฒนางานอาชีพ และคุณภาพชีวิตส่วนตน มีความเป็นประชาธิปไตย
สามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่ากันและชาญฉลาด
แม้การเรียนรู้จะมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนดังที่กล่าวมาแล้วก็ตาม แต่สภาพปัจจุบันของโรงเรียนวัดอภยาราม พบว่า
ผู้เรียนยังขาดการฝึกทักษะการคิดหาเหตุผลและสรุปองค์ความรู้จากสิ่งที่เรียน ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนไม่เต็มตามศักยภาพ ซึ่งพิจารณาได้จาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบสองของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปรากฏผลด้านความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ ของผู้เรียนไม่ได้การรับรองมาตรฐานคุณภาพดังกล่าว ทั้งนี้ น่าจะมีสาเหตุมาจากครูผู้สอนยังคงใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเดิม ๆ คือ เน้นการบรรยายให้ผู้เรียนฟัง บอกให้ทำเป็นส่วนใหญ่ และสอนโดยยึดให้จบครบตามหนังสือ ประกอบกับครูมีภาระงานมากไม่มีเวลาเพียงพอในการคิดนวัตกรรม จึงทำให้การเรียนรู้ไม่เต็มตามศักยภาพ ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ
ผู้เรียนยังขาดการฝึกทักษะการคิดหาเหตุผลและสรุปองค์ความรู้จากสิ่งที่เรียน ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนไม่เต็มตามศักยภาพ ซึ่งพิจารณาได้จาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบสองของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปรากฏผลด้านความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ ของผู้เรียนไม่ได้การรับรองมาตรฐานคุณภาพดังกล่าว ทั้งนี้ น่าจะมีสาเหตุมาจากครูผู้สอนยังคงใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเดิม ๆ คือ เน้นการบรรยายให้ผู้เรียนฟัง บอกให้ทำเป็นส่วนใหญ่ และสอนโดยยึดให้จบครบตามหนังสือ ประกอบกับครูมีภาระงานมากไม่มีเวลาเพียงพอในการคิดนวัตกรรม จึงทำให้การเรียนรู้ไม่เต็มตามศักยภาพ ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ
จากสาเหตุดังกล่าว โรงเรียนวัดอภยาราม จึงสนใจศึกษาหาวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ โดยนำคณะครู
ตัวแทนนักเรียน
ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน
และตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปศึกษาดูงานยังโรงเรียนต่าง ๆ และนำคณะครูเข้ารับการอบรมการพัฒนาการสอนคิด โดย ดร. ฆนัท
ธาตุทอง ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในการ
พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA
Model (สบายตาโมเดล) ขึ้น ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒
ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นมา
ภายใต้ปรัชญาที่เชื่อว่า “ การศึกษาจะต้องพัฒนาผู้เรียนในลักษณะเบ็ดเสร็จในตัว ” มิใช่พัฒนาเพียงเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือ ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
๒.
วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ
Best Practice
๒.๑
เพื่อสร้างรูปแบบจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้
SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
๒.๒ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
๒.๓ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดอภยาราม
๓.
กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best
Practice ไปใช้
๓.๑ ครูทุกคนจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
๓.๒ ผลการสอบวัดคุณภาพระดับชาติของสถานศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่และระดับชาติชาติ
๔.
ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice มีแนวดำเนินการ ๘ ขั้น ประกอบด้วย
๔.๑ การกำหนดมาตรการเร่งรัดคุณภาพ
๔.๒ การออกแบบการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
๔.๓ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้
SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
๔.๔ การจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
๔.๕ การนิเทศภายใน
/ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
๔.๖
ประเมินผลการจัดการเรียนรู้
๔.๗ พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๔.๘
สรุปรายงานผล
๕.
รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน Best Practice
๕.๑ การกำหนดมาตรการเร่งรัดคุณภาพ มีแนวดำเนินการดังนี้
๕.๑.๑ กำหนดมาตรการเร่งรัดคุณภาพด้านความสามารถในการคิดของผู้เรียน
๕.๑.๒ ประชุมชี้แจงให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ
๕.๑.๓ การจัดครูเข้าสอนในแต่ละระดับชั้น
โดยคำนึงถึง
-
ความสามารถในการสอนภาษาไทยได้เก่ง ลายมือสวย เสียสละ อุทิศตน ใจดี
และมีความอดทนสูง ให้เข้าสอนในชั้น ป.๑
-
ความสามารถในการสอน ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก เสียสละ อุทิศตน ใจดี
และมีความมุ่งมั่นสูง ให้สอนในชั้น ป.๖
ซี่งต้องสอบวัดคุณภาพระดับชาติและเข้าศึกษาต่อระดับชั้น ม.๑
-
ให้สอนตรงตามวิชาเอก และความถนัด
๕.๑.๔
สร้างความตระหนักแก่ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการอ่านรู้เรื่องและการคิดวิเคราะห์
๕.๑.๕
วิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
๕.๑.๖
ประสานผู้ปกครอง รับทราบและร่วมมือแก้ไขปัญหา โดยเอาใจใส่บุตรหลาน
และติดตามความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด
๕.๒ การออกแบบการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA Model (สบายตาโมเดล)
มีแนวดำเนินการดังนี้
๕.๒.๑ ออกแบบการเรียนรู้ SBITHA Model (สบายตาโมเดล) ประกอบด้วยขั้นตอนรวม
6 ขั้น คือ
๑) สร้างสิ่งเร้าจูงใจ (Stimulating motivation )
๒) เจียรนัยการรับรู้
(Brain perception)
๓) จัดระบบสู่สมอง
(step forward
Intelligence)
๔) ประลองความคิด
(Testing idea)
๕) ติดเป็นพฤติกรรม
(Habitual behavior)
๖) นำไปประยุกต์ใช้ (Applying process)
๕.๓ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้
SBITHA Model (สบายตา
โมเดล)
มีแนวดำเนินการดังนี้
๕.๓.๑
กำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการ เรียนรู้
๕.๓.๒ เน้นกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA Model (สบายตา
โมเดล)
๕.๓.๓ กำหนดสื่อและแหล่งการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนสนับสนุนให้การ
จัดการเรียนรู้
ประสบความสำเร็จและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๕.๔
การจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ SBITHA Model (สบายตาโมเดล) มีแนวดำเนินการดังนี้
๕.๔.๑ ให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ว่าต้องการค่าคะแนนการสอบเพิ่มขึ้นเท่าไรใน
แต่ละชั้นปี และใน ๕ ภาคเรียน
รวมทั้งกำหนดเป้าหมายคะแนนเฉลี่ยผลการสอบ O-NET และโรงเรียนที่จะสอบเข้าศึกษาต่อ
ตั้งแต่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ป.๔
๕.๔.๒ ครูจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริม สร้างทักษะ
และอำนวยการให้เด็กคิดได้อย่างถูกต้อง
และสร้างสรรค์
๕.๔.๓ ครูร่วมประชุมปรึกษาหารือ เปิดใจกว้าง
จริงใจต่อกันในการให้ความร่วมมือแก้ปัญหา
และส่งเสริมความสามารถของผู้เรียน
๕.๕. การนิเทศภายใน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพื่อพัฒนาบุคลากรโดยใช้รูปแบบที่หลากหลายทั้ง
นิเทศรายบุคคลและนิเทศรายกลุ่ม
ซึ่งดำเนินการนิเทศโดยยึดจุดประสงค์ ( Goal
Oriented Supervision) ใช้หลักการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลักประชาธิปไตย หลักการปรับพฤติกรรม และหลักการเสริมกำลังใจ ผสมผสานกันไป
ซึ่งใช้เวลาดำเนินการนิเทศภายในทุกบ่ายของวันพุธ
๕.๖ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้
SBITHA Model (สบายตาโมเดล) ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๕.๗
พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อเสนอแนะ
๕.๘
สรุปรายงานผล ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
๖.
องค์ความรู้ / ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำ
Best
Practice ไปใช้
๖.๑ ด้านสถานศึกษา
๑) โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
ตัวบ่งชี่ที่ ๔ ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
ในระดับคุณภาพดีมาก
๒) โรงเรียนผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล
๓) รางวัลดีเด่นสถานศึกษาที่สนับสนุนกิจการด้านการศึกษาของจังหวัดพัทลุง
ประจำปี
2556
๔) รางวัลผลคะแนน
O – NET
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2555 อยู่ในระดับสูงสุดของเขตพื้นที่
๕) รางวัลผลคะแนน
O – NET
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เฉลี่ย ๘
กลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับ
TOP TEN
ของเขตพื้นที่
๖) รางวัลเหรียญทองโรงเรียนน่าอยู่น่าเรียนรู้
ระดับเขตพื้นที่
๗) โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำเรียนร่วม
๘) ชุมชนมีความพึงพอใจ
ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน โดยมีจำนวนนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น
จำนวน ๑๔๕,
๑๖๕ และ ๑๘๐
คน ในปีการศึกษา ๒๕๕๓, ๒๕๕๔ และ
๒๕๕๕ ตามลำดับ
๖.๒ ด้านคุณภาพผู้เรียน
๑)
นักเรียนได้รับการคัดเลือกเข้ารับโล่รางวัลผู้มีความสามารถและนำชื่อเสียงมา
สู่ประเทศชาติ
จากกระทรวงศึกษาธิการ
พร้อมทั้งได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2556
๒)
รางวัลเหรียญทองการแข่งขันกีฬาเทควันโด
ระดับนานาชาติ
๓)
ผลการทดสอบทางศึกษาระดับชาติมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตและ
ระดับชาติ โดยอยู่ในอันดับ TOP TEN ของเขตพื้นที่
คือ อันดับ ๑๐ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ และอันดับ
๓ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ทั้งนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ผลการทดสอบทางศึกษาระดับชาติมีค่าคะแนนสูงสุดของเขตพื้นที่ และมีนักเรียนสอบได้คะแนนเต็มร้อยคะแนน
๓ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ทั้งนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ผลการทดสอบทางศึกษาระดับชาติมีค่าคะแนนสูงสุดของเขตพื้นที่ และมีนักเรียนสอบได้คะแนนเต็มร้อยคะแนน
๔)
นักเรียนสอบเข้าศึกษาต่อโรงเรียนยอดนิยม(โรงเรียนสตรีพัทลุง
และโรงเรียน
พัทลุง)เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยสอบได้ร้อยละ ๕๘.๓๓ และร้อยละ ๘๓.๓๓ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔
และ ๒๕๕๕ ตามลำดับ
๕)
นักเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตาม
โครงการ
“เด็กดี ศรีท้องถิ่น” โรงเรียนสตรีพัทลุง มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕
๖)
นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน
การแข่งขันกิจกรรมสภานักเรียน ในงาน
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคใต้
ครั้งที่ ๖๒ ประจำปี
๒๕๕๕
๖.๓ ด้านบุคลากร
๑) นางชมขวัญ
ขุนวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับเครื่องหมายเชิดชู
เกียรติ “ หนึ่งแสนครูดี ”
จาก
สำนักงาน สกสค. ประจำปี ๒๕๕๕ รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษารักการอ่านดีเด่น
ระดับประถมศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ประจำปี ๒๕๕๔ และได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ให้นำเสนอแผนการสอนงานครู ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
๒)
บุคลากรในโรงเรียนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ดังนี้
-
นางสาวช่อแก้ว วงษ์ตั้นหิ้น ได้รับรางวัล ครูสอนดี ประจำปี
๒๕๕๔ และรางวัล
ครูผู้สอนดีเด่นที่นักเรียนมีผลคะแนน O-NET
ชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ร้อยละ ๑๐๐
-
นางกรุณา
หมวดมณี ได้รับรางวัล รางวัล หนึ่งแสนครูดี จาก สำนักงาน สกสค.
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
-
นางกาญจนา เกื้อเส้ง และนางวรรณี เพ็งประไพ ได้รับรางวัล
“ หนึ่งแสนครูดี ”
จาก
สำนักงาน สกสค. ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕
- นางหทัยชนก
ขวัญขำ นางปิยวรรณ บุญรุ่ง
นายพิพัฒน์ ทองต้ง และนางสุพรรณี บัวนียม
ได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ที่มีผลคะแนน O-NET ปีการศึกษา
๒๕๕๕ อยู่ใน ๑๐ อันดับแรกของเขตพื้นที่
- ครูได้รับอนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น เป็นครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จำนวน ๓ คน คือ
นางกรุณา หมวดมณี นางสาวช่อแก้ว วงษ์ตั้นหิ้น
และนางวรรณี เพ็งประไพ อยู่ระหว่างปรับปรุงผลงานครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ อีก จำนวน
๑ คน คือ นางกาญจนา เกื้อเส้ง
- นางกรุณา หมวดมณี
และนางสาวช่อแก้ว วงษ์ตั้นหิ้น ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ให้นำเสนอแผนจัดการเรียนรู้เน้นทักษะ IS ณ
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
๗.รูปแบบวิธีการประชาสัมพันธ์
เผยแพร่ Best Practice
๘.๑ จัดนิทรรศการ
๘.๒
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชุมสัมมนา
๘.๓
ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่าง ๆ
๘.๔ จัดทำข่าวสารถึงผู้ปกครอง
๘.๕ จัดกิจกรรมวันปิดภาคเรียน
๙.
การขยายผล Best Practice / องค์กร
หน่วยงานที่มีส่วนร่วม
๙.๑ แสดงผลงานในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคใต้ครั้งที่
๖๓
๙.๒ ประชุมผู้บริหารสถานศึกษา
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต
๑
**************************************
เยี่ยม
ตอบลบ