วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ครูผู้สร้างศาสตร์ด้วยศิลป์

“สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต โสปัณฑิโต ภะเว ผู้พ้นจากการฟัง คิด ถาม เขียน จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร ” นี่คือ บทบาลีบทหนึ่งในพุทธศาสนาที่ได้สอนเหล่าพุทธศาสนิกชนเอาไว้ ซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องผู้เป็นนักฟังที่ดีว่า เป็นพหูสูตร และทรงยกย่องพระอานนท์มาแล้ว ดังนั้น ครูผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างคนให้เป็นพหูสูตร หรือผู้คงแก่เรียนได้โดยการฝึกให้ฟังมาก จำได้คล่องปาก เจนใจ ประยุกต์ใช้ได้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมายและสนุกในการเรียนรู้ โดยอาศัยทักษะที่สำคัญคือ ศิลปะการถ่ายทอด ที่อาชีพครูพึงมีอยู่ในตัวตน

ครูที่ประสบความสำเร็จกับการถ่ายทอดจะต้องสร้างศรัทธาทำให้ผู้เรียนรักและไว้วางใจ ฉะนั้นครูจึงควรพัฒนาตนเองดังนี้

๑. บุคลิกดี ครูต้องมีมาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในต้องเยี่ยม เพราะหากครูมีบุคลิกภาพดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง การยืน

การเคลื่อนไหว จะต้องกลมกลืนเหมาะสม สิ่งที่เป็นเสน่ห์คือรอยยิ้มครู แสดงภาษาชื่นชมต่อผู้เรียน

๒. มีความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว มั่นใจ

๓. สนใจร่วมมือ ครูต้องแสดงความสนใจผู้เรียน ร่วมมือให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

๔. ใช้สื่อการสอน ครูต้องนำส่วนประกอบของร่างกายมาใช้เป็นสื่อการสอน ไม่ว่าจะเป็นตาได้เห็น ทางปากได้ซักถาม พูดคุย ทางหูได้ยิน ทางมือได้ทดลองสัมผัส จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

๕. ไม่อ่อนประสบการณ์ ครูต้องแนะแนวทางให้ผู้เรียนจดจำและเรียนรู้ได้เร็ว โดยดัดแปลงแต่งเติมให้เหมาะสมกับวัย และเนื้อหาของบทเรียน

๖. การงานสำเร็จดี ครูที่เด็กอยากเรียนด้วยจะต้องมีความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียน ยิ่งครูส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ เกิดความเป็นเลิศ จะทำให้เกิดการยอมรับจากผู้ปกครองมากขึ้น คุณภาพของครูจึงเกิดจากคุณภาพผู้เรียน

๗. มีความสามารถในการถ่ายทอด สามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน โดยใช้รูปภาพสถานการณ์จริงให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ประทับใจ บันเทิงใจควบคู่กันไป ซึ่งครูต้องมีเทคนิคและลีลา ภาษาและศิลปะ

ในการแสดงออก

๘. ถอดหัวใจผู้เรียน ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน ต้องมีความเป็นกัลยาณมิตร ต้องรู้ว่าผู้เรียนเป็นใคร

ชอบอะไร สนใจและมีความถนัดเรื่องใด

๙. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ครูต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้ (Knowledge)

ความเข้าใจ (Understanding) ความถนัด (Skill) ทัศนคติและจริยธรรมที่ดี (Habbit) ครูต้องมีอารมณ์ขัน และได้สาระ

๑๐. ไม่หลงตัวเอง ไม่ว่าครูจะมีระยะเวลาในกานสอนมายาวนานเพียงใด ก็ต้องเตรียมให้พร้อมตลอดเวลา ครูจึงควรพัฒนาตนเองให้เกิดพฤติกรรม ดังนี้ คือ ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย ได้เนื้อหา พาสนุกปลุกความคิด พิชิตปัญหา เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ผู้เรียนเกิดประโยชน์ ไม่เป็นโทษเป็นภัย โดยเสนอแต่สิ่งที่ดีต่อนักเรียน

ดังนั้นครูที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้ดลใจให้เด็กคิด และจะต้องวางแผนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ใฝ่รู้ สร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้สมองและสองมือได้ปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ ครูควรยึดคำกล่าวที่ว่า “ถ้าฝาตุ่มยังไม่เปิด ก็อย่าเพิ่งเติมน้ำ” การมีทักษะถ่ายทอดที่ดีเยี่ยมและเข้าใจธรรมชาติผู้เรียนว่ามีลีลาการเรียนรู้อย่างไร จะส่งผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ สิ่งสำคัญบุคลิกภาพของครูต้องดึงดูดความสนใจ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย การเป็นครูเหนือครูจึงอยู่ที่กระบวนการคิดของครูที่มองเป้าหมายไปที่ผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตจากการสอน สะท้อนมาเป็นผลงานของครูเอง

ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้กับครูผู้มุ่งมั่นและตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง ด้วยการฝากธรรมะสั้น ๆ ของพระมหาสมปองที่ว่า “ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากสวรรค์ ไม่ได้เกิดจากโชคชะตา แต่เกิดจากการฝึกฝนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ” สวัสดีค่ะ

สุพรรณี บัวเนียม

ครูโรงเรียนวัดอภยาราม

ที่มาข้อมูล : พรชัย ภาพันธ์ , ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ www.myfirstbrain.com

ข่าวการศึกษา